เห็นด้วยเลยครับ มีเว็บอ่านนิยายน้อยลงไปทุกวัน
นี่ก็เหลือแค่ธัญวลัย Fictionlog จอย ห้องสมุด กับนิยายรักอะ ที่เป็นเว็บใหย่ๆ และยังอ่านได้อยู่
ปัจจุบันในเมืองไทยเรามีเว็บอ่านนิยายจำนวนไม่น้อย ไม่ว่าจะเป็นเว็บขนาดใหญ่ กลาง หรือเล็ก ซึ่งในแต่ละเว็บก็มีจุดเด่นจุดด้อยต่างกันไป บางเว็บเด่นที่เนื้อหานิยาย บางเว็บเด่นที่ระบบที่ใช้งานง่าย บางเว็บเด่นที่มีสมาชิกจำนวนมาก ทำให้เราได้รู้จักเพื่อนๆ นักอ่านนักเขียนมากมาย
ใช่ว่าการอ่านนิยายจะมีแค่คนที่มองเห็นเท่านั้นที่อ่านได้ ทว่าคนตาบอดเราก็อ่านนิยายไม่ต่างกัน เพียงแค่ในการอ่านของเราไม่ได้ใช้ตา แต่เราใช้ โปรแกรมอ่านหน้าจอ ไปแปลงตัวอักษรบนหน้าเว็บไซต์เพื่อมาเป็นเสียงให้คนตาบอดฟังอีกที ดังนั้นคนตาบอดจึงไม่ได้เสพนิยายผ่านเพียงหนังสือเสียง แต่เราก็อ่านบนหน้าเว็บหรือแอปพลิเคชันได้เหมือนคนอื่นๆ
หากแต่พักหลังๆ เว็บไซต์อ่านนิยายออนไลน์มีการพัฒนามากขึ้น ซึ่งเว็บไซต์หลายเว็บก็พัฒนาจนคนตาบอดเข้าอ่านนิยายผ่านหน้าเว็บไม่ได้อีกต่อไป เนื่องเพราะติดปัญหาเรื่องโค้ดที่ครอบเนื้อหานิยายอยู่บางโค้ด ได้ปิดกั้นการเข้าถึงของโปรแกรมอ่านหน้าจอ แม้ว่าหลายเว็บจะมีแอปพลิเคชันให้ใช้งาน ทว่าคนตาบอดก็ใช้งานแอปพลิเคชันเหล่านั้นค่อนข้างลำบาก หรือแม้แต่ใช้งานแทบไม่ได้ ทำให้อ่านนิยายในเว็บที่เป็นปัญหาได้ยาก หรืออ่านไม่ได้อีกต่อไป
อีกทั้งถึงแม้ว่าโทรศัพท์จะมีแอปพลิเคชันช่วยอ่านก็จริง แต่เมื่อนำมาอ่านนิยายที่มีการใช้คำที่หลากหลาย หรือชื่อตัวละครแปลกๆ ตัวแอปพลิเคชันก็มักจะออกเสียงผิดเพี้ยนไปเสมอ จนทำให้ขาดอรรถรสในการอ่าน (ฟัง) ซึ่งหากเป็นโปรแกรมบนคอม เขาจะมีโปรแกรมเสียงภาษาไทยที่เรียกว่าตาทิพย์ ซึ่งอ่านภาษาไทยได้ดีกว่า และสามารถแก้ไขดิคได้ครอบคลุมและง่ายกว่าในมือถือเป็นอย่างมาก
จุดสำคัญคือ ลักษณะการถือโทรศัพท์ในการอ่านของคนตาดี และการถือโทรศัพท์ในการฟังเสียงแอปช่วยอ่านของคนตาบอดมีท่วงท่าที่แตกต่างกัน ดังนั้นการที่คนตาบอดจำเป็นต้องถือโทรศัพท์เอาไว้นานๆ จึงมีความยากลำบากและไม่สะดวก
คนตาบอดก็ถือเป็นกลุ่มลูกค้า ซื้อนิยายอ่านไม่ต่างกัน แต่ทำไมคนตาดีถึงเลื่อกอ่านได้ทุกอุปกรณ์ แต่คนตาบอดอ่านได้แค่ในแอปพลิเคชัน แถมบางเว็บนี่ แม้แต่แอปพลิเคชันก็ยังมาใช้งานไม่ได้อีก
ที่รวบรวมชื่อเว็บไซต์ ไม่ใช่ว่าเราอยากจะให้ทางเว็บไซต์ปลดระบบเข้ารหัสตัวอักษรออกแต่อย่างใด เพียงแค่อยากจะขอให้แต่ละเว็บทำระบบลงทะเบียนสำหรับคนตาบอดขึ้นมา จากนั้นก็ ให้คนตาบอดสามารถเข้าถึงเนื้อหานิยายได้ โดยไม่ต้องผ่านฟอนต์ที่ถูกเข้ารหัสอยู่ (แต่ยังคงมีระบบป้องกันอื่นๆ เช่นห้ามก๊อบปี้ ห้ามคลุมดำ รวมถึงห้ามคลิกต่างๆ) โดยการยืนยันบัญชีที่ลงทะเบียนก็คือ ให้ยืนยันด้วยบัตรคนพิการ ว่าผู้ที่ลงทะเบียนเป็นคนพิการตาบอดจริงหรือไม่ (ซึ่งระบบแบบนี้ มีเว็บอ่านนิยายออนไลน์ทำไปแล้วส่วนหนึ่งตามคำเรียกร้องของเรา แล้วไม่มีปัญหาใดๆ)
วันนี้ผมจะมาบอกกล่าวถึงเว็บที่คนตาบอดเข้าอ่านนิยายผ่านหน้าเว็บไม่ได้ เพื่อให้เพื่อนๆ คนตาบอดที่ชอบอ่านนิยายเข้าใจตรงกันว่า ที่อ่านนิยายไม่ได้เกิดขึ้นจากตัวเว็บไซต์นั้นๆ ไม่ได้เป็นที่โปรแกรมอ่านหน้าจอของเราแต่อย่างใด เพื่อให้เพื่อนๆ ไม่สับสนกัน ว่าทำไมถึงอ่านไม่ได้ และรอคอยวันที่จะใช้งานได้กันต่อไป
เว็บนี้ตอนเปิดเว็บใหม่ๆ คนตาบอดยังสามารถเข้าถึงเนื้อหานิยายได้ ทว่าเมื่อหลายปีที่แล้ว คนตาบอดก็ไม่สามารถเข้าถึงเนื้อหานิยายได้อีกต่อไป ถึงแม้จะพออ่านผ่านแอปพลิเคชันได้ แต่การใช้งานจะไม่สะดวกเท่ากับเว็บ อีกทั้งยังค่อนข้างใช้งานยาก แอปพลิเคชันอ่านหน้าจอบนโทรศัพท์ก็อ่านเนื้อหานิยายได้ไม่ตรงตัวสะกดสักเท่าไหร่ ทำให้คนตาบอดอาจอ่านนิยายไป หงุดหงิดไป
เว็บนี้ผมได้รู้จักผ่านนิยายแปลหลายเรื่อง จะเรียกว่าเป็นเว็บนิยายแปลถูกลิขสิทธิ์ในไทยเป็นเว็บแรกๆ ของไทยเลยก็ว่าได้ โดยนิยายแปลที่ดังๆ ในช่วงเปิดเว็บก็มีตั้งแต่อสูรพลิกฟ้า สดุดีมหาราชา เทพจักรพรรดิเจ้าพิภพ ฯลฯ ซึ่งในช่วงแรกเว็บนี้คนตาบอดยังเข้าถึงได้ปกติ แต่เมื่อมีการปรับหน้าเว็บใหม่เมื่อหลายปีที่แล้ว คนตาบอดก็อ่านผ่านหน้าเว็บไม่ได้อีกต่อไป ถึงแม้จะแจ้งปัญหาให้ทางทีมงานทราบไปแล้วหลายครั้ง แต่ก็ไม่มีอะไรเกิดขึ้นจนถึงปัจจุบัน
ถึงแม้คนตาบอดจะพออ่านผ่านแอปพลิเคชันได้บ้าง แต่ก็อย่างที่บอกไปว่า ถ้าใช้งานโดยอ่านผ่านหน้าเว็บได้โดยตรง มันจะสะดวกกว่ามาก ดังนั้นถ้าหากใครชอบนิยายแปลจากเว็บนี้ แนะนำลองหาอ่านจากเว็บอื่นดูได้ เพราะผมเห็นหลายเรื่องมีวางขายใน Fictionlog ซึ่งตัวเว็บ Fictionlog คนตาบอดเข้าถึงได้ปกติ
หลายคนอาจไม่คุ้นเคยกับชื่อเว็บนี้ เพราะเป็นเว็บน้องใหม่ที่เพิ่งเปิดมาได้ยังไม่ถึงปี แต่ถ้าพูดถึงนิยายแปลเรื่อง “โคตรพลังดวงตาเทพเจ้า” คิดว่าคงมีคอนิยายแปลหลายคนร้อง “อ๋อ” กันอยู่บ้าง แต่ล่าสุดต้องขอแจ้งว่า เว็บนี้คนตาบอดก็ไม่สามารถเข้าถึงเนื้อหานิยายได้อีกแล้วเช่นกัน เพราะติดปัญหาโค้ดที่ครอบเนื้อหานิยายอยู่ไม่ต่างจากเว็บอื่นๆ
เดิมทีเว็บ Fictionlog เข้าถึงได้โดยตลอด แต่ทว่าเพิ่งเปลี่ยนมาเข้ารหัสตัวอักษรเมื่อเดือนธันวาปี 2566 ที่ผ่านมา
เว็บนี้เดิมทีคนตาบอดก็เคยอ่านผ่านหน้าเว็บได้ แต่ทางเว็บก็มีการเข้ารหัสตัวอักษรไปในปี 2566 เช่นเดียวกัน
รายชื่อเว็บที่ยังแสดงอยู่ในหน้านี้ คือเว็บที่ทำการเข้ารหัสฟอนต์แต่ยังไม่มีมาตรการออกมารองรับการอ่านผ่านหน้าเว็บที่ชัดเจน ส่วนเว็บที่อ่านผ่านหน้าเว็บไม่ได้ แต่มีมาตรการที่ทำให้เข้าถึงได้ตามปกติแล้ว ทางผมก็ได้นำชื่อออกไปแล้ว
ทุกวันนี้ เว็บนิยายที่คนตาบอดเข้าถึงได้มีน้อยลงไปทุกที ชวนให้เราคิดว่า หากทางเว็บไซต์อ่านนิยายออนไลน์ยังพัฒนาโดยไม่ใส่ใจการใช้งานของคนตาบอด หรือไม่ยอมหาทางออกให้กับนักอ่านตาบอดอย่างเป็นรูปธรรม อีกไม่นานบรรดานักอ่านตาบอด คงจะไม่อาจอ่านนิยายออนไลน์อย่างสะดวกเหมือนคนตาดีได้อีกต่อไปเป็นแน่
ถึงแม้การใช้โค้ดครอบเนื้อหาเอาไว้ จะดูว่าเป็นการป้องกันเนื้อหานิยายที่รัดกุมเพิ่มขึ้นก็จริง แต่ในทางกลับกัน ผู้ให้บริการเว็บอ่านนิยายออนไลน์ก็ควรจะหาทางออกให้กับนักอ่านตาบอดด้วย เพราะคนตาบอดเองก็ช่วยขับเคลื่อนวงการการอ่านได้ เราก็ซื้อนิยายอ่านเช่นกัน เราเองก็เป็นลูกค้าคนหนึ่ง ซึ่งบรรดาเว็บไซต์อ่านนิยายออนไลน์ควรใส่ใจ และไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลังอย่างที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน
สำหรับใครที่ต้องการเสนอแนะการใช้งานไปที่เว็บไซต์ตามรายชื่อ สามารถร่วมกันส่งคำร้องไปได้ที่เพจเฟซบุ๊กของแต่ละเว็บเลยครับ หากพวกเราร่วมกันแจ้งปัญหาเข้าไปกันเยอะๆ อาจจะมีอะไรเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้นได้ครับ
ผู้อ่านสามารถสนับสนุนเว็บไซต์ โดยการอุดหนุนนิยายบนเว็บไซต์ เขียนกันดอทคอม เว็บไซต์อ่านนิยายที่คนตาบอดเป็นเจ้าของ และอยากให้สังคมการอ่านเป็นของคนทุกกลุ่ม ไม่ว่าตาดีหรือตาบอด
เรียนจบภาษาไทย ฝันว่าอยากเป็นนักเขียนนิยาย แต่ส่วนใหญ่ได้เขียนแต่บทความเพื่อสังคม
เป็นเว็บที่เขียนบทความอยู่อีกหนึ่งเว็บ
บล็อกส่วนตัว
หากมองในมุมแคบ หรือไม่ประยุกต์ใช้ไปตามยุคสมัย จะกลายเป็นว่า "คนพิการคือภาระและตัวถ่วง"
มองในแง่มุมที่เปิดกว้างและฉลาด จะกลายเป็นว่า "คนพิการคือโอกาสทางธุรกิจ"
ภาพคนตาบอดร้องเพลงเปิดหมวก ไม่ว่าจะเป็นการเดินแบกตู้ร้องเพลง ร้องอยู่กับที่ หรือเล่นเครื่องดนตรี คงไม่ดูแปลกตาสำหรับคนที่ไปตลาดที่มีคนพลุกพล่านตามที่ต่างๆ ในยามเช้าหรือยามเย็น บางคนที่เห็นจนชินตาก็อาจมองว่าเป็นอาชีพอาชีพหนึ่งที่คนตาบอดนิยมทำ แต่สำหรับบางคนก็อาจเกิดความสงสัยว่า ทำไมคนตาบอดถึงนิยมทำอาชีพนี้ มันมีสาเหตุมาจากอะไรกันแน่ เป็นเพราะคนตาบอดมีความถนัดในการร้องเพลงหรือเปล่า? หรือเป็นเพราะสาเหตุอื่น
หากพูดถึงการที่เด็กตาบอดไปเรียนร่วมในโรงเรียนกับเด็กปกติ หลายคนคงไม่แปลกใจอะไร เพราะในปัจจุบัน หลายโรงเรียนก็เปิดโอกาสให้เด็กพิการทางสายตา เข้าไปเรียนรวมกับเด็กทั่วไปแล้ว ซึ่งนี่ถือว่าเป็นเรื่องที่ดีอีกประการหนึ่งที่เกิดขึ้นในสังคมไทย
ใช้คำว่า "คนพิเศษ" หรือ "เด็กพิเศษ" มาเรียกคนพิการนี่ขอทีเถอะ เรียกว่าคนพิการไปเลยดูจริงใจกว่าเยอะ
การนำคำว่า "พิเศษ" มาใช้ในบริบทนี้บอกเลยว่า สุดท้ายมันก็สื่อว่า "คนพิการ" อยู่ดีนั่นแหละ มันไม่ได้ฟังดูซอฟต์ขึ้นเลย ในทางกลับกันมันดูใช้คำพูดไม่ตรงกับใจมากกว่า
สำหรับบทความนี้ ทาง Blind Living ต้องขอออกตัวเอาไว้ก่อนว่า นี่เป็นเพียงความคิดเห็นส่วนหนึ่ง และคนตาบอดไม่ได้รู้สึกแบบนี้กันทุกคน หรือทุกงาน บทความนี้เพียงต้องการอธิบายหนึ่งในสาเหตุที่ว่า เพราะอะไร เมื่อมีคนชวนคนตาบอดไปงาน แต่งงาน งานบวช และงานอื่นๆ ทำไมคนตาบอดบางส่วนถึงไม่ค่อยอยากไป
ประการแรกที่คนตาบอดไม่ค่อยอยากไปงานที่เป็นลักษณะงานบุญ หรืองานแต่งงาน เนื่องเพราะงานดังกล่าวมีจำนวนคนเยอะ หากผู้ดูแลมีงานยุ่งไม่พร้อมดูแล คนตาบอดก็จะอยู่ได้ค่อนข้างลำบาก เนื่องจากไม่คุ้นเคยกับสถานที่ ไม่คุ้นเคยกับบุคคลภายในงาน และไปไหนมาไหนด้วยตัวเองได้ยาก
เพราะทุกคนมีสิทธิ์เลือกได้ ดังนั้นเมื่อมีการพูดถึง “คู่ชีวิต” หรือ “คู่รัก” หลายคนจึงมักจะโยนคนพิการห่างไกลออกจากเรื่องทำนองนี้ ซึ่งเหตุผลก็มีมากมายต่างกันไป
ไม่ว่าจะเป็นไม่อยากดูแลหาภาระเพิ่มให้ตัวเอง
ไม่มั่นใจว่าจะดูแลได้อย่างถูกวิธี
แค่นี้ชีวิตตัวเองก็วุ่นวายพออยู่แล้ว
คนตาบอดจะดูแลเราได้ยังไง
คนตาบอดจะมีงานทำเลี้ยงตัวเองได้หรือ ไม่งั้นค่าใช้จ่ายเราต้องเป็นคนออกสิ
เรื่องเซ็กส์จะมีปัญหามั้ย
อายจังเลย มาคบคนตาบอดเนี่ย
ฯลฯ...
มาถึงจุดนี้ ขอบอกเลยว่าปัญหาที่ไล่ๆ มา รับรองเลยว่าคนตาบอดหลายคนแทบไม่มีปัญหาในส่วนนี้
คิดว่าหลายคน คงเคยมีความฝันอยากจะมีสถานีวิทยุเป็นของตัวเอง ยิ่งทุกวันนี้ มีสถานนีวิทยุออนไลน์ที่ทำได้ง่ายมากกว่าแต่ก่อน เพียงแค่จ่ายเงินเดือนละไม่กี่บาทก็ทำสถานีวิทยุออนไลน์ได้แล้ว...
เมื่อเราพูดถึงการท่องอินเทอร์เน็ต สิ่งที่เราจะขาดไปไม่ได้เลยก็คือโปรแกรมหรือแอปพลิเคชั่นต่างๆ ที่ทำหน้าที่เป็นสื่อกลางนำพาเราเข้าไปยังเว็บต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเข้าไปที่เว็บค้นหาเช่น Google...
เมื่อเราพูดถึงคนพิการ ภาพจำของคนส่วนใหญ่ในสังคมไทยก็คงจะมองว่าเป็นภาระ ทำงานไม่ได้ หรืออาจพอทำงานได้บ้าง แต่ประสิทธิภาพจะได้ไม่เท่ากับคนปกติ จนไม่คุ้มต่อการจ้างงาน ทว่าในปัจจุบัน...
2 AI ถอดเทป ภาษาไทย ปะทะกัน ใครจะเจ๋งกว่า ไปชม Sound Transcriber VS Microsoft Clipchamp สวัสดีครับ ก็กลับมาพบกับผม ป๊อกซ่าไอที กันอีกครั้ง หลังจากหายหน้าหายตาจากบทความไปนาน...
หากพูดถึงเรื่องเอกสาร หลายคนคงจะนึกถึงไฟล์นามสกุลประเภท PDF หรือ doc และ docx หรือในรูปแบบ powerPoint เพราะถือว่าเป็นที่นิยม แต่ยังมีนามสกุลไฟล์อีกนามสกุลหนึ่ง...
ผมเชื่อว่าคงมีเพื่อน ๆ ที่เป็นคนตาบอดไม่มากก็น้อยที่ชอบดูการ์ตูนญี่ปุ่น แล้วเราก็จะพบว่าส่วนใหญ่บริการต่าง ๆ คนตาบอดอย่างเรานั้นไม่สามารถอ่านซับไทยได้ ทำให้เราต้องรอดูภาคไทยอย่างเดียวใช่ไหมล่ะ...