คุณอยู่ที่

มุมมองคนพิการทางสายตาในสังคมไทย

ปรับขนาดตัวอักษร

-A A +A
รูปภาพของ ลับแล
เขียนโดย ลับแล เมื่อ อังคาร, 09/17/2019 - 14:16

คนพิการทางสายตาในมุมมองของคนในสังคมนั้นมักแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับประสบการณ์ตรงของแต่ละคน แม้ว่าในความเป็นจริงแล้วคนพิการทางสายตาเป็นเพียงคนที่สูญเสียความสามารถทางการเห็น หากความสามารถด้านอื่นยังอยู่ครบ ที่สำคัญเมื่อมีการพัฒนาเทคโนโลยีขึ้นมาเพื่อชดเชยความสามารถด้านการเห็นด้วยแล้ว คนพิการทางสายตาอาจกลายเป็นคนที่มีความสามารถโดดเด่นด้วยซ้ำไป

ด้านการศึกษา

ธรรมชาติของมนุษย์ที่จำเป็นต้องดำรงชีวิตอยู่ให้ได้ เมื่อขาดความสามารถด้านหนึ่งคือการมองเห็นจะพยายามพัฒนาความสามารถด้านอื่นเข้ามาชดเชย เพียงได้โอกาสก็สามารถเรียนร่วมกับคนอื่นได้ โดยเฉพาะสาขาที่ใช้ความสามารถด้านอื่นชดเชยการมองเห็น เช่น นิติศาสตร์ ดนตรี ขับร้องเพลง ภาษาไทย ภาษาต่างประเทศฯลฯ

ด้านการทำงาน

งานที่ไม่ได้เจาะจงว่าต้องมองเห็น คนพิการทางสายตาสามารถทำได้ และบางงานอาจทำได้ดีกว่าด้วยเนื่องจากไม่ต้องเสียเวลาไปกับการใช้สื่อโซเชียลที่กำลังรุกหนักในสังคมไทย

การอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคม

คนพิการทางสายตาสามารถฝึกฝนให้มีชีวิตอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้ สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ ตั้งแต่การเดินทาง รวมถึงการทำกิจวัตรประจำวัน ในต่างประเทศมีการฝึกสุนัขเพื่อนำทางอย่างมีประสิทธิภาพสูง และเริ่มมีการนำมาใช้งานในประเทศไทย ปรากฏเป็นข่าวใหญ่ ซึ่งความจริงสุนัขนำทางนี้ ศ.ดร.วิริยะ นามศิริพงศ์พันธุ์ อดีตอาจารย์ ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เคยใช้มาก่อนแล้ว ทำให้อาจารย์เดินทางมาสอนหนังสือได้ด้วยตัวเอง และทำงานด้านอื่นอย่างบุคคลที่ได้รับการยอมรับทางสังคม


ผู้อ่านสามารถสนับสนุนเว็บไซต์ โดยการอุดหนุนนิยายบนเว็บไซต์ เขียนกันดอทคอม เว็บไซต์อ่านนิยายที่คนตาบอดเป็นเจ้าของ และอยากให้สังคมการอ่านเป็นของคนทุกกลุ่ม ไม่ว่าตาดีหรือตาบอด

หากเราเปลี่ยนมุมมองความคิดเสียใหม่ และให้โอกาส เชื่อว่า ประเทศไทยจะมีคนพิการทางสายตาเป็นบุคลากรคุณภาพในสังคมไม่แพ้ใครเลย
ให้ดาวบทความนี้: 
Average: 4 (7 votes)

สุดยอด

เพราะสังคมส่วนใหญ่ เห็นใจ..แต่ไม่ยอมรับ โดยเฉพาะในเรื่องของการทำงาน ยากที่จะได้รับโอกาส

จริงครับ

ขอบคุณครับ

แสดงความคิดเห็น