ตอนอยู่มัธยมมักได้ยินคำนี้บ่อย แรก ๆ ก็รู้สึกแปลกหู แต่พอนาน ๆ ไปก็ชิน คำที่เราไม่ค่อยโอเคคือ "เด็กพิเศษ" คือแบบ...ตรูไม่ได้เหาะได้เฟ้อย55555


หากพูดถึงการที่เด็กตาบอดไปเรียนร่วมในโรงเรียนกับเด็กปกติ หลายคนคงไม่แปลกใจอะไร เพราะในปัจจุบัน หลายโรงเรียนก็เปิดโอกาสให้เด็กพิการทางสายตา เข้าไปเรียนรวมกับเด็กทั่วไปแล้ว ซึ่งนี่ถือว่าเป็นเรื่องที่ดีอีกประการหนึ่งที่เกิดขึ้นในสังคมไทย
แต่จะดีมากกว่านี้ หากทางโรงเรียนพยายามไม่ใช้คำที่ดูแบ่งแยกเด็กตาบอดออกจากเด็กปกติ เช่นเวลาเรียกเด็กตาบอด ควรจะเรียกเป็นชื่อมากกว่าที่จะเรียกเป็น ‘เด็กเรียนร่วม’ ในกรณีที่ห้องเรียนนั้นๆ มีเด็กตาบอดคนเดียว ก็คงจะถูกครูเรียกเป็นรายชื่ออยู่แล้วเป็นเรื่องปกติ แต่หากห้องไหนมีเด็กตาอยู่เกิน 2 คนขึ้นไป หรือเวลาเรียกพบเด็กตาทั้งหมดผ่านประชาสัมพันธ์ ก็จะมีคำว่าเรียนร่วมโผล่มาเสมอ ซึ่งผู้เรียกคงเห็นว่าสะดวกดี แต่คนที่ถูกเรียกอาจจะไม่สะดวกฟังเท่าไหร่ในบางอารมณ์
เท่าที่สังเกต หากครูเรียกเด็กทั่วไปที่อยู่เป็นกลุ่ม ก็จะเรียกเป็นชื่อๆ ไป หรือไม่ก็จะเรียกชื่อเด็กหนึ่งในกลุ่มนั้น แล้วค่อยพูดรวมๆ กับเด็กในกลุ่มเดียวกัน ทว่าในทางกลับกันเมื่อเรียกเด็กตาบอด เมื่อครูต้องการสื่อสารกับกลุ่มเด็กตาบอด มักจะไม่เรียกเป็นชื่อเหมือนเด็กปกติ แต่มักจะใช้คำรวมๆ ไปว่า ‘เรียนร่วม’ หรือ ‘กลุ่มเด็กพิเศษ’ ซึ่งหากไม่คิดอะไรมาก มันก็เป็นแค่คำเรียกทั่วไป คนเรียกก็สะดวก เพราะใช้คำเดียว สื่อสารกับเด็กตาบอดได้ทั้งหมด
เชื่อว่าเด็กตาบอดหลายคนเมื่อฟังไปนานๆ ก็คงไม่ได้คิดอะไร หากแต่บางอารมณ์มันก็ต้องมีบ้าง ที่รู้สึกว่า “ทำไมต้องเรียกเรียนร่วมด้วย? เพราะชื่อดีๆ ก็มีให้เรียก”
ต่างจากระบบมหา’ลัย ที่ไม่มีคำว่าเรียนร่วม เวลาอาจารย์จะเรียกเด็กตา ก็มักจะเรียกเป็นชื่อ หรือไม่หากเรียกรวมๆ ก็จะเรียกเป็นนักศึกศาพิการทางสายตาตรงๆ ไปเลย ซึ่งโดยส่วนตัวผู้เขียนเองก็รู้สึกเฉยๆ กับคำนี้ เพราะเราก็ตาบอดจริงๆ
ถ้าโรงเรียนจะเปลี่ยนจากคำว่า ‘เรียนร่วม’ มาเป็นนักเรียนตาบอดตรงๆ ในความรู้สึกผู้เขียนก็น่าจะฟังดูดีกว่าเรียนร่วม เพราะเราตาบอดจริงๆ
แต่ที่ผู้เขียนรู้สึกไม่ดีกับคำว่าเรียนร่วม เรียนรวม หรือเด็กพิเศษ ก็เพราะ เหมือนทำให้เรารู้สึกว่า เราต่างจากคนอื่น แล้วต้องมาเรียนร่วมกับคนอื่น ทั้งที่ในความเป็นจริง เราก็เป็นมนุษย์ไม่ต่างจากคนอื่นเลย แค่เรามี ‘ไม่ครบ’ เท่านั้นเอง แต่เราก็มีความสามารถอย่างอื่นมาทดแทน
คนปกติทั่วไป อาจจะคิดว่า การ ‘สร้างคำ’ เพื่อมาเรียกนักเรียนตาบอดโดยอ้อมมันดูถนอมความรู้สึกมากกว่า แต่ส่วนตัวแล้วคิดว่า การที่เรียก ‘นักเรียนตาบอด’ หรือ ‘นักเรียนพิการทางสายตา’ หรือ ‘นักเรียนบกพร่องทางสายตา’ กลับฟังดูมีความจริงใจมากกว่า
เพราะคำว่า “ตาบอด” “พิการทางสายตา” หรือ “พิการทางการมองเห็น” มันไม่ใช่คำที่ใช้แบ่งแยกเราให้ต่างจากคนทั่วไป แต่มันคือ “ความจริง” ในร่างกายของเรา
คำที่คนปกติสร้างขึ้นเพื่อเรียกเราโดยอ้อมต่างหาก ที่มันทำให้เราฟังแล้วรู้สึกต่างจากคนอื่น เช่นคำว่า “เด็กเรียนร่วม” เป็นต้น
ผู้อ่านสามารถสนับสนุนเว็บไซต์ โดยการอุดหนุนนิยายบนเว็บไซต์ เขียนกันดอทคอม เว็บไซต์อ่านนิยายที่คนตาบอดเป็นเจ้าของ และอยากให้สังคมการอ่านเป็นของคนทุกกลุ่ม ไม่ว่าตาดีหรือตาบอด
ตอนอยู่มัธยมมักได้ยินคำนี้บ่อย แรก ๆ ก็รู้สึกแปลกหู แต่พอนาน ๆ ไปก็ชิน คำที่เราไม่ค่อยโอเคคือ "เด็กพิเศษ" คือแบบ...ตรูไม่ได้เหาะได้เฟ้อย55555
เรียนจบภาษาไทย ฝันว่าอยากเป็นนักเขียนนิยาย แต่ส่วนใหญ่ได้เขียนแต่บทความเพื่อสังคม
เป็นเว็บที่เขียนบทความอยู่อีกหนึ่งเว็บ
บล็อกส่วนตัว
เมื่อพูดถึงโรงเรียน ใครหลายคนคงมองเห็นภาพผู้ปกครองขับรถไปส่งเด็กหญิงเด็กชายตัวน้อยๆ ไปโรงเรียน ครั้งพอถึง เด็กหญิงเด็กชายเหล่านั้นก็จะเรียนๆ เล่นๆ อยู่กับพ้องเพื่อนทั้งวันกระทั่งเลิกเรียน แล้วตั้งตาคอยผู้เป็นบิดามารดามารับกลับบ้านในตอนเย็น
ภาพเหล่านี้ถือว่าเป็นภาพทั่วไป หากเด็กเหล่านั้นเป็นเด็กปกติ และครอบครัวที่เราพูดถึงไม่มีลูกพิการทางการเห็น
ใช้คำว่า "คนพิเศษ" หรือ "เด็กพิเศษ" มาเรียกคนพิการนี่ขอทีเถอะ เรียกว่าคนพิการไปเลยดูจริงใจกว่าเยอะ
การนำคำว่า "พิเศษ" มาใช้ในบริบทนี้บอกเลยว่า สุดท้ายมันก็สื่อว่า "คนพิการ" อยู่ดีนั่นแหละ มันไม่ได้ฟังดูซอฟต์ขึ้นเลย ในทางกลับกันมันดูใช้คำพูดไม่ตรงกับใจมากกว่า
ภาพคนตาบอดร้องเพลงเปิดหมวก ไม่ว่าจะเป็นการเดินแบกตู้ร้องเพลง ร้องอยู่กับที่ หรือเล่นเครื่องดนตรี คงไม่ดูแปลกตาสำหรับคนที่ไปตลาดที่มีคนพลุกพล่านตามที่ต่างๆ ในยามเช้าหรือยามเย็น บางคนที่เห็นจนชินตาก็อาจมองว่าเป็นอาชีพอาชีพหนึ่งที่คนตาบอดนิยมทำ แต่สำหรับบางคนก็อาจเกิดความสงสัยว่า ทำไมคนตาบอดถึงนิยมทำอาชีพนี้ มันมีสาเหตุมาจากอะไรกันแน่ เป็นเพราะคนตาบอดมีความถนัดในการร้องเพลงหรือเปล่า? หรือเป็นเพราะสาเหตุอื่น
หากเราวัดจากอดีตมาจนถึงปัจจุบัน จะพบได้ว่า สังคมไทยเริ่มให้ความสนใจในเรื่องคนพิการมากขึ้นเป็นลำดับ เริ่มตั้งแต่การใช้ชีวิต ทักษะความสามารถ การทำงาน ไปจนถึงเรื่องอื่นๆ อาทิเรื่องสุนัขนำทาง
หากเราคนหาเรื่องความพิการบน Google แน่นอนว่า เราคงพบข้อมูลที่เราต้องการได้ไม่ยาก หากแต่ข้อมูลที่ได้ก็อาจจะกระจัดกระจายไปตามเว็บต่างๆ หาเว็บที่มีข้อมูลเฉพาะเรื่องความพิการ หรือความพิการเฉพาะด้านนั้นๆ ได้น้อยมาก ส่วนใหญ่จะเป็นแค่บล็อกส่วนตัว หรือเว็บข่าว ที่นำเสนอข่าวเป็นเรื่องๆ ไปเท่านั้น
เพราะทุกคนมีสิทธิ์เลือกได้ ดังนั้นเมื่อมีการพูดถึง “คู่ชีวิต” หรือ “คู่รัก” หลายคนจึงมักจะโยนคนพิการห่างไกลออกจากเรื่องทำนองนี้ ซึ่งเหตุผลก็มีมากมายต่างกันไป
ไม่ว่าจะเป็นไม่อยากดูแลหาภาระเพิ่มให้ตัวเอง
ไม่มั่นใจว่าจะดูแลได้อย่างถูกวิธี
แค่นี้ชีวิตตัวเองก็วุ่นวายพออยู่แล้ว
คนตาบอดจะดูแลเราได้ยังไง
คนตาบอดจะมีงานทำเลี้ยงตัวเองได้หรือ ไม่งั้นค่าใช้จ่ายเราต้องเป็นคนออกสิ
เรื่องเซ็กส์จะมีปัญหามั้ย
อายจังเลย มาคบคนตาบอดเนี่ย
ฯลฯ...
มาถึงจุดนี้ ขอบอกเลยว่าปัญหาที่ไล่ๆ มา รับรองเลยว่าคนตาบอดหลายคนแทบไม่มีปัญหาในส่วนนี้
สำหรับบทความนี้ ทาง Blind Living ต้องขอออกตัวเอาไว้ก่อนว่า นี่เป็นเพียงความคิดเห็นส่วนหนึ่ง และคนตาบอดไม่ได้รู้สึกแบบนี้กันทุกคน หรือทุกงาน บทความนี้เพียงต้องการอธิบายหนึ่งในสาเหตุที่ว่า เพราะอะไร เมื่อมีคนชวนคนตาบอดไปงาน แต่งงาน งานบวช และงานอื่นๆ ทำไมคนตาบอดบางส่วนถึงไม่ค่อยอยากไป
ประการแรกที่คนตาบอดไม่ค่อยอยากไปงานที่เป็นลักษณะงานบุญ หรืองานแต่งงาน เนื่องเพราะงานดังกล่าวมีจำนวนคนเยอะ หากผู้ดูแลมีงานยุ่งไม่พร้อมดูแล คนตาบอดก็จะอยู่ได้ค่อนข้างลำบาก เนื่องจากไม่คุ้นเคยกับสถานที่ ไม่คุ้นเคยกับบุคคลภายในงาน และไปไหนมาไหนด้วยตัวเองได้ยาก
คนพิการทางสายตาในมุมมองของคนในสังคมนั้นมักแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับประสบการณ์ตรงของแต่ละคน แม้ว่าในความเป็นจริงแล้วคนพิการทางสายตาเป็นเพียงคนที่สูญเสียความสามารถทางการเห็น...
เคยมีคนกล่าวไว้ว่า มนุษย์เกิดมาเป็นลูกธนูบนคันศร การเลี้ยงดูคือสายพาดรอวันปล่อยให้หลุดจากแหล่ง ซึ่งก็หมายถึงพ่อแม่ ครูบาอาจารย์ หรือใครก็ตามแต่ในฐานะผู้อบรมดูแล...
วันนี้ผมไม่ได้มาเขียนบทความที่เกี่ยวกับการใช้ชีวิตของคนตาบอดแต่อย่างใด ซึ่งหากดูจากชื่อบทความ หลายท่านก็คงเดาออกแล้ว ว่าวันนี้ผมมารีวิวละครเรื่อง “Bangkok รัก Stories ตอนเรื่องที่ขอจากฟ้า”...
จากประสบการณ์ส่วนตัวของผมเอง มีหลายเคสมากที่ผมต้องมาวุ่นวายอยู่กับไฟล์เอกสารนามสกุล .PDF ทั้งไฟล์สื่อการเรียน หรือแม้กระทั่งไฟล์ข้อสอบ ครูอาจารย์บางส่วนไม่เข้าใจว่า ทำไมเราถึงอ่านไฟล์ PDF ไม่ได้...
วงการนิยายในเมืองไทยเราในทุกวันนี้ ถ้าจะไม่พูดถึงนิยายแปลไทยเลย ก็คงไม่ได้ ยิ่งโดยเฉพาะนิยายที่ทะลักมาจากเมืองจีนแผ่นดินใหญ่ และไต้หวัน ซึ่งนักอ่านชาวไทยนิยมอ่านกันมาก...
คุณอยากรู้จักการดำเนินชีวิตทั่วไปของผู้พิการทางสายตาหรือเปล่า...? ถ้าคุณอยากรู้ หรือมีความสนใจ บทความนี้...สามารถตอบคุณได้แน่นอน! “คุณซักผ้าเองหรือเปล่า?” “ใครอาบน้ำให้น้องเหรอจ๊ะ?” “...